Twitter Facebook Delicious Digg Stumbleupon Favorites More

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แนะนำทุกเรื่องเกี่ยวกับ Android



Root คืออะไร?

       ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันก่อนว่า Android นั้นพัฒนาขึ้นมาจาก Linux เพราะฉะนั้น Kernel หรือแกนกลางที่ตัวระบบคุยกับ Hardware นั้นก็จะใช้รูปแบบเดียวกับ Linux  จริงๆแล้วเราอาจจะเรียกแอนดรอยด์ว่าระบบปฎิบัติการ ( Operating System ) อย่างเต็มปากเต็มคำไม่ได้ด้วยซ้ำ

"เนื่องจาก Android นั้นไม่ได้เป็น OS ตรงๆแต่เป็น OS Stack เพราะ Android นั้นไม่ได้ติดต่อกับ Hardware โดยตรง แต่จะใช้ Linux ในการติดต่อไปอีกทีนึง"

** iOS เองจริงๆแล้วก็เป็น OS Stack เช่นกัน โดยมีพื้นฐานของตัว OS มาจาก FreeBSD และใช้ Kernel แบบเดียวกับ Linux  ( FreeBSD เป็นญาติกับ Linux ) **

      - Root - ในภาษาของคนใช้ Linux ทั่วไป มันคือ Default Super User นั่นเอง หลังจากเราลง Linux หรือญาติของ Linux ตัวอื่นๆอย่าง Ubuntu, FreeBSD และ Fedora มันจะมี User ที่ขื่อว่า Root เป็น Super User ที่สามารถแก้ไขไฟล์และตั้งค่าระบบต่างๆในเครื่องได้ ถ้าจะพูดกันให้เข้าใจแบบบ้านๆกับคนใช้ Windows บ่อยๆ Super User ก็คือ Adminstrator นั่นล่ะ

      - การ Jailbreak บน iOS - ก็คือการทำให้ได้มาซึ่งสิทธิของ Super User เช่นเดียวกับ การ Root บน Android ทำให้หลังจากที่เราทำการ Jailbreak บน iOS แล้วเราจะสามารถแก้ไขส่วนต่างๆของระบบได้เช่นเดียวกับ Android ที่ทำการ Root พูดง่ายๆก็คือ Jailbreak(iOS) = Root(Android) นั่นเอง แต่ทว่า Android นั้นเค้าไม่ได้ล้อคการติดตั้งแอพฯที่ไม่รู้แหล่งที่มาหรือแอพฯนอก Market ( Unknow Source ) ทำให้ Android สามารถติดตั้งแอพฯที่เป็นไฟล์ .apk ได้เลย ต่างจาก Apple ที่ล้อคการติดตั้งเอาไว้ ทำให้ผู้ที่ต้องการลงแอพฯไฟล์ .ipa นั้นจำเป็นต้อง Root เพื่อแก้ไขระบบก่อน จึงจะสามารถลงแอพฯจากไฟล์ได้

"เพราะฉะนั้น นิยามการ Root บน Android เป็นภาษาไทยว่า "การทำให้ได้มาซึ่งสิทธิ Super User" ละกัน"

Root แล้วได้อะไร?

     มีหลายๆคนมักจะเข้าใจผิดกันไปต่างๆนาๆว่า Root แล้วเครื่องจะเร็วขึ้น Root แล้วเครื่องจะเสถียรขึ้น Root แล้วเครื่องจะประหยัดแบตขึ้น

     ต้องบอกว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่ได้มาจากการ Root แต่มันจะได้มาหลังจากการ Root ต่างหากล่ะ บางคนอาจจะคิดง่ายๆว่าอยาก Overclock CPU ก็ Root แล้วลงแอพฯ Overclock ก็จบแล้ว จริงๆมันไม่ใช่ บางเครื่องอาจจะง่ายๆแค่นั้น บางเครื่องก็ถึงกับต้องลง Custom ROM หรือยัด Kernel ที่ Support การ Overclock ลงไป ถึงจะสามารถ Overclock ได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากเราต้องการจะใช้อะไรหลังจากการ Root ให้ไปดูวิธีทำไว้ก่อนว่ามันยากเกินกว่าเราจะทำได้มั้ย หรือมันสามารถทำได้รึเปล่า เพราะเครื่องบางเครื่องมันก็ Overclock ไม่ได้นะ

     เรื่องที่ทำให้เครื่องเสถียรขึ้นก็เช่นกัน การที่ทาง Google จำเป็นต้องปิด Super user ไว้ไม่ให้เราใช้กันก็เพราะมันจะมีผลกับความเสถียรของเครื่องที่เราใช้อยู่นี่ล่ะ ถ้าหากเรามี Super user อยู่ในมือเราก็สามารถแก้ไขตัวระบบได้ แน่นอนว่ามันอาจจะทำให้เครื่องเสถียรขึ้นหรือลดความเสถียรลงก็ได้ เพราะฉะนั้นก่อนการ Root ทำใจเรื่องนี้กันไว้ด้วยนะ

ทำไมต้อง Root?

     แน่นอนว่าเพื่อทำให้เราสามารถแก้ไขตัวระบบ และเพิ่มความสามารถให้กับตัวระบบของเราได้นั่นเอง ลองมาดูตัวอย่างฟังชั่นที่มีประโยชน์ที่เราได้มาหลังจากการ Root กันดีกว่า

การแชร์ไฟล์แบบ NFS ( Network File Sharing ) -
ด้วย Samba File Sharing การแชร์ไฟล์ลักษณะนี้จะ เหมือนกับการแชร์ไฟล์ระหว่าง Windows กับ Windows ผ่าน Wireless เลยล่ะ ซึ่งแอพฯตัวนี้เป็นเหตุผล     หลักๆที่ Root เครื่องอยู่ทุกครั้งเลยทีเดียว ( ขี้เกียจเสียบสายสินะ แฮะๆ )

การ Fake Legion บน Android Market -
อันนี้เองก็ใช้บ่อยๆเหมือนกัน เนื่องจากแอพฯใน Market บางตัวนั้นจะล้อคเอาไว้สำหรับประเทศของตัวเองเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น แอพฯเค้าเยอะมาก แต่เราโหลดไม่ได้เพราะเค้าล้อคโซนเอาไว้ ก็ใช้พวก Market Enabler นี่ล่ะ Fake Legion ไปโหลดกัน (ข้อนี้ปัจจุบัน JB 4.1 ไม่สามารถใช้งานได้)

Overclock CPU -
อันนี้เอาสะใจ เอาไว้ Overclock วัด Quadrant ให้มันดูเยอะเล่นๆไปงั้นเอง สำหรับคนใช้ Galaxy S2 หรือ Galaxy Note ที่ใช้ Stock ROM สามารถโหลด Tegrak Overclock มาใช้ได้เลย

Droid Firewall 
 เอาไว้บล้อคอินเตอร์เน็ตเป็นรายแอพฯไป อย่างเช่นเห็นว่า Whatsapp มันส่งข้อมูลบ่อยกินแบต หรืออยากจะออฟไลน์ Whatsapp ก็ใช้เจ้าตัวนี้ล่ะ

     ที่บอกไปด้านบนนี่คือที่ตัวเองใช้อยู่บ่อยๆนะ แต่จริงๆแล้วมันยังมีอะไรให้ทำอีกเยอะมาก ทั้งการเปลี่ยน Font, การเปลี่ยน Boot Animation, การเปลี่ยนรูปแบตเตอร์รี่ และเปลี่ยนไปใช้ Custom ROM เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของเครื่อง

     ทั้งนี้การ Root อย่างไรก็ยังมีผลเสียอยู่ เช่น เครื่องพัง, ประกันหมด (เอากลับมาได้ด้วยการ Flash ROM ใหม่) ถ้าคิดจะ Root แล้วเจ้าของเครื่องก็ต้องรับความเสี่ยงกันเอาเองนะ

Root แล้วหมดประกันมั้ย?

     เงื่อนไขในการหมดประกันคือ Unlock Boot Loader เพราะฉะนั้น "ถ้าคุณไม่ไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับ Boot Loader ก็ไม่ต้องกลัว คุณสามารถ Root ได้ทั้ง ๆ ที่ยัง Lock Boot Loader ถ้าเครื่องมีปัญหาที่ Hardware คุณก็แค่ Flash Firmware ศูนย์ลงไปทับ แล้วก็ส่งประกันได้ตามเดิม ตราบใดก็ตามที่เครื่องของคุณยังไม่ถูก Unlock Boot Loader ก็ไม่ต้องเป็นกังวล หรือกลัวจนเกินเหตุ

Boot Loader คืออะไร?

     - Bootloader - เป็นการโปรแกรมตัวเอง โดยไม่ต้องใช้เครื่องโปรแกรม แต่สำหรับครั้งแรกก็ยังต้องใช้เครื่องโปรแกรมก่อน เนี่องจากไมโครชิพรุ่นใหม่ๆ สามารถเขียนโค๊ดโปรแกรมได้ด้วยตัวเอง จึงได้กันโค๊ดบางส่วนไว้สำหรับจัดการในส่วนนี้ ซึ่งก็เป็นส่วนที่ใช้ติดต่อกับ PC ผ่านทาง RS232 หรือ USB เพื่อที่นำ HEX ไฟล์ที่ผ่านการคอมไพล์แล้ว มาโปรแกรมลงบนชิพ ประโยชน์ก็อย่าง เช่น PICKit2 สามารถ update ตัวเองได้เมื่อมี Version ใหม่ๆ แล้วอย่างเช่นห้อง LAB ที่มีชุดทดลองสำหรับนักศึกษาหลายชุด หากชุดทดลองเป็นแบบ Bootloader ก็จะทำให้ประหยัด มีตัวโปรแกรมไว้กันเหนียวตัวเดียวก็พอ

ClockWorkMod หรือ CWM คืออะไรแล้วเอาไว้ทำอะไร?


     - Recovery หรือ Recovery Mode - คือโหมดการทำงานพิเศษของแต่ละระบบปฏิบัติการ ไว้เรียกใช้งานในยามที่ระบบปฏิบัติการหลัก ไม่สามารถใช้งานได้ อันเนื่องมาจากการติดขัดจากปัญหา หรือเกิดจากการทำงานผิดพลาดบางอย่าง ก็จะใช้ Recovery Mode ในการเข้าไปแก้ไขผ่านคำสั่งต่างๆ ที่ถูกกำหนดมาเรียบร้อย เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่นการ Reset ข้อมูล (คินค่าจากโรงงาน) เป็นต้น

     - ClockworkMod Recovery (CWM) - มันเป็น Recovery Mode อีกนึ่งตัว พัฒนาโดยทีม ClockworkMod และมีการเพิ่มคำสั่งพิเศษต่างๆ เข้ามาถือเป็น Utility ที่เหล่าสาวกแอนแอนดรอยด์ที่อยากจะโมเครื่องควรจะทำความรู้จักอย่างมาก มีคำสั่งที่ช่วยในการเรียกใช้งาน Recovery ตัวเดิม โดยไม่ต้องยุ่งยากในการพิมพ์ cmd ยาวๆ เช่น wipe data, factory reset, wipe cache partition และที่ใช้กันบ่อยๆ เวลาลงรอมใหม่และอัพเดตรอมคือ update from SDcard

**ข้อควรระวัง** การติดตั้ง ClockworkMod Recovery ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความเสี่ยงในการทำมือถือแอนดรอยด์ของเราพังได้ แน่นอนว่าจะติดตั้ง ClockworkMod Recovery ได้จะต้องผ่านขั้นตอนการ Root เครื่องก่อน (แต่มีวิธีการยัด ClockworkMod Recovery โดยตรงแบบไม่ต้อง Root ก่อนก็ได้) เพราะจริงๆ แล้วขั้นตอนที่อันตรายไม่ใช่การ Root  แต่เป็นสิ่งที่เรากำลังจะทำในต่อๆ ไป หลังจากที่ Root เครื่องแล้วตากหาก

Stock ROM หรือ Custom ROM คืออะไร?

      - Stock ROM หรือ Custom ROM ดี - เราควรจะใช้งานแบบไหนอย่างไร แต่ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่ารู้จักหรือไม่ว่า Stock ROM หรือ Custom ROM คืออะไร 

     จริงๆ คำสองคำนี้ชาว Android น่าจะต้องรู้จักกันเป็นอย่างดีทีเดียว เพราะว่ามันจะทำให้เครื่องโทรศัพท์ของคุณนั้น อาจจะดีขึ้นผิดหูผิดตา หรืออาจจะทำให้โทรศัพท์ของคุณห่วยลงก็เป็นไปได้ทั้งนั้น 

     ก่อนหน้าจะไปรู้จัก Stock ROM หรือ Custom ROM มารู้จักกับ ROM กันก่อนดีกว่า ROM หรือ Firmware  ก็คือ Android system OS ความจริงก็คืออย่างเดียวกัน บางทีก็เรียก ROM บางทีก็เรียก Firmware ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็คือ Official ROM ก็คือรอมจากศูนย์ ซึ่งแต่ละค่ายจะบอกว่า เบสออน แอนดรอยด์ จากกูเกิลเวอร์ชันไหน  Custom ROM ก็คือรอมที่นักพัฒนาทั้งปรุงขึ้นมาซึ่งอาจจะมาจากรอมศูนย์ หรือจากกูเกิลโดยตรง

      - Stock ROM - หรือก็คือ Official ROM ที่จะถูกปล่อยมาจากบริษัทมือถือต่างๆ ที่พัฒนามาเพื่ออัพเกรด หรือพัฒนาศักยภาพของเจ้าโทรศัพท์มือถือของคุณนั่นเอง

      - Custom ROM - คือ ROM ที่ผ่านการดัดแปลงจาก กลุ่มนักพัฒนาต่างๆ โดยพวกนี้จะทำการปรับแต่ง (Modify) รอมมาให้เราเรียบร้อย  ทำให้เราสามารถใช้งานมือถือสมาร์ทโฟนของเราได้ดีขึ้น ตรงกับความต้องการของเรามากขึ้นนั่นเอง

     ข้อดีอีกอย่างของ Custom ROM ก็คือ Custom ROM มีอัพเดตรุ่นหรือเวอร์ชั่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ แม้ว่าทางบริษัทต้นสังกัดจะไม่พัฒนา Stock ROM ออกมาป้อนให้ผู้ใช้แล้วก็ตาม  และ Custom ROM บางตัวจะทำการอัพเกรดเวอร์ชั่น Android ได้เร็วกว่า Stock ROM อีกต่างหาก  ซึ่งกลุ่มผู้พัฒนาอิสระที่ทำ Custom ROM ทุกวันนี้มีอยู่มากมาย  

     แต่แน่นอนว่าการลง Custom ROM อาจจะก่อให้เกิดปัญหาแลค ค้าง หรือแฮงค์ จนเกิดเป็นปัญหาก็เป็นได้ แต่อย่างว่าแหละถ้าการใช้งาน Stock  ROM หรือ Offcial ROM แล้วไม่พอใจกับการใช้งาน ทางเลือกของคุณก็คงเหลือเพียงทางเดียวนั่นก็คือการทดลองลง Custom ROM นั่นเอง 

Cache คืออะไร?


     - Cache - คือหน่วยความจำอย่างนึง มีความเร็วในการเข้าถึงและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูง ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่เราต้องการจะใช้งานบ่อยๆ เพื่อเวลาที่ CPU ต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ จะได้ค้นหาได้เร็ว โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปค้นหาจากข้อมูลทั้งหมดซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

Cache มี 2 แบบคือ

     - 1.disk cache - คือการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักของเราก่อน เมื่อ CPU ต้องการจะหาข้อมูล ก็จะหาใน dish cache ก่อนแล้วค่อยเข้าไปค้นหาใน Harddisk

     - 2.Memory cache - จะดึงข้อมูลมาเก็บไว้ใน memory ซึ่งจะถึงขอ้มูลได้รวดเร็วกว่า แต่มีความจำที่เล็กกว่า เพราะฉะนั้น ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่มี cache ความเร็วสูงก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามยิ่งขนาดใหญ่ก็เก็บข้อมูลได้เยอะ แต่การเข้าถึงจะช้ากว่า cache ที่มีขนาดเล็ก 

    - ระบบ Cache - นอกจาก ใน computer แล้ว ระบบ Cache ยังเอามาใช้งานบนเว็บ ด้วย CMSส่วนใหญ่จะมีระบบ Cache เพื่อลดภาระการทำงานของฐานข้อมูลลง


Factory Reset ทำลงไปแล้ว อะไรอยู่ อะไรหาย?

      - Factory Reset - คือการทำความสะอาดอุปกรณ์ Android ของคุณวิธีหนึ่ง หลายๆคนคงเคยได้ยินว่า เมื่อเครื่องค้าง, เครื่องทำงานแปลกๆ ก็ให้ทำ Factory Reset นะ แต่การทำ Factory Reset จริงๆนั้น ทำเพื่อเวลาที่คุณต้องการจะขายอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น (ฝรั่งเค้าบอกไว้แบบนี้) เพราะว่าการทำ FR หรือ Factory Reset นี้เป็นการลบทุกสิ่ง (แต่ไม่ใช่ทุกอย่าง) ในเครื่องของคุณที่คุณเคยเข้าไปยุ่งกับมัน เคยเข้าไปตั้งค่าต่างๆให้มัน ไปทำการ flash ROMs มัน, FR จะทำให้เครื่องของคุณเข้าสู่สภาพเดียวกันกับตอนที่คุณเปิดกล่องซื้อมันมาตอนแรกเลยทีเดียว

ทีนี้, การทำ FR นั้น อะไรจะอยู่ อะไรจะหายไป เรามาดูด้านล่างกัน?

- Application ต่างๆ ไม่มีเหลือ, เล่นเกมส์สะสมแต้มไว้ ก็จะมลายหายสิ้นไปหมด

- รายชื่อผู้ติดต่อหายวับไปกับตา ไม่เหลือให้คอนแทกต์แม้แต่คนเดียว

- ลามไปถึงการอัพเดทแอพลิเคชั่นต่างๆใน Google Play ที่เป็น Account ของเรา

- ยังไม่พอ, พาสเวิร์ด, อีเมล์, ปฏิทินที่เคย Sync ไว้ที่ Google Play และที่อื่นๆด้วย

แล้วอะไรที่มันจะไม่เข้าไปแตะต้องในเครื่องเรา

- ทุกอย่างที่เก็บไว้ในหน่วยความจำที่เรียกว่า SD card 

- ไฟล์ของระบบ (อันนี้เราก็ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว)

     - การทำ FR นั้นก็ง่ายนิดเดียว - แค่เข้าไปที่ Privacy ในเมนู Setting  แล้วเลือก Factory Reset หากคุณทำการรีเซ็ตไปแล้ว และคุณก็ทำการ Reboot เครื่องขึ้นมาใหม่ สภาพมันจะเหมือนได้เกิดใหม่ แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องรอชาติหน้า มาชาตินี้ละ สภาพของเมนูรายละเอียดทุกอย่างจะเหมือนกับการแกะกล่องใหม่ครั้งแรก แต่ต่างตรงที่ข้อมูลใน SD card จะยังอยู่เหมือนเดิม

(ไม่ว่าจะเป็น SD card ของจริง, หรือจะเป็นหน่วยความจำที่ถูกแบ่งออกมาแล้วตั้งชื่อว่า SD card  อยู่ครบ) 

      - แต่.. - ถ้าเครื่องคุณเคยทำการ Root มาแล้ว หรือมาแฟลช ROM เองต่างๆนาๆ พยายาม "อย่า" ทำ FR จากเมนู Setting ในเครื่องนะ บางครั้งอาจจะมีปัญหาได้นะ แต่หากเครื่องถูก Root มาด้วยวิธีที่ไม่ธรรมดา เครื่องคุณอาจจะ Bricked หรือพังเอาได้ง่ายๆ

   ***ทางที่ดี ทำ การ Backup ข้อมูล Android ไว้ก็ดีนะ ก่อนที่วันหนึ่งจำเป็นต้อง FR ละก็ เศร้าเลยนะ***

การ Wipe Data แต่ละแบบ คืออะไร?

      - Wipe data & factory reset - ใช้สำหรับลบ App ลบ Data และค่าต่าง ๆ ที่ตั้งโดย User ไปสู่ค่าเดิมของ ROM

     - Wipe cache partition ลบส่วนที่เป็นแคชไฟล์ หรือไฟล์ชั่วคราว ที่เกิดจาก App และระบบ

     - Wipe dalvik cache เป็นแคชเหมือนกัน แต่ dalvik cache จะเกิดจาก App หรือระบบบางส่วนที่เป็น Java

อะไรคือการแฟลชรอม ?

     การแฟลชรอม หรือ flash Rom คือการนำ Rom หรือง่ายๆคือระบบปฎิบัติการ(OS)ของ Android นั้นเข้าไปแทนที่ของเดิม อย่างเช่นในกรณีของคอมพิวเตอร์คือเหมือนการติดตั้งวินโดวส์ ลินุกซ์ ให้กับมันนั่นเอง โดยตัวรอมจะมีอยู่สารพัดหลายร้อยแบบมากมาย ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่า รอม ที่ได้มานั้นมันสำหรับของโมเดลเราหรือเปล่า 

แฟลชรอมเพื่ออะไร ? 

      การแฟลชรอมก็เปรียบเหมือนการลง OS ใหม่ให้กับน้องโน๊ตของเรานั้นเอง เพราะรอมเก่า รอมเดิม นั้นอาจจะยังไม่มีอะไรที่เพียงพอต่อความต้องการของเรา เช่น บางรอมกินแบทมาก บางรอมก็ใช้โน่นไม่ได้ ใช้นี่ไม่ได้ เลยต้องมีการแฟลชรอมใหม่เอาให้ตรงกับความต้องการของเรา โดยในตัวของ Android เองใช้ Linux เป็นเบสหลักในการพัฒนา

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

Recent Posts

Unordered List

Text Widget

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Sample Text

ป้ายกำกับ

Blogger Tutorials

Blogger Templates

Sample Text

Copyright © Custom Rom for the Devices | Powered by Blogger
Design by SimpleWpThemes | Blogger Theme by NewBloggerThemes.com & Distributed By Protemplateslab